Call Center 086 883 0777
Email: contact@netanart.com

 

<< บทความทั้งหมด

ป้ายโฆษณา กับ Google

บทความนี้ต้องตั้งใจอ่านหน่อยเพราะเป็นการวิเคราะห์ วัฒนธรรมของคนไทย ที่น่ารัก และเป็นต้นเหตุของการมีป้ายโฆษณา และอื่นๆอีกมากมายตามมา

         ความคิดที่จะเขียนบทความนี้เกิดจากการได้พูดคุยกับคนไข้เช่นเคย
มีเด็กมากมายหลายๆคนที่เริ่มต้นก็เชื่อคำโฆษณา ไปรับการดูแลปัญหาความงามกันแบบไม่ได้คิดอะไรมาก เห็นหรือได้ยินก็ ตามๆกันไป แต่เมื่อใบหน้าพังขึ้นมา เช่น เป็นแผล  เป็นพรุนไปทั้งหน้าเพราะไปกดสิวมานับสิบๆครั้ง หรือไปทำ Dermareju มาก็เป็นรอยช้ำดำจนใบหน้าเสียโฉม เมื่อมาหาผมที่คลินิก ผมมักจะถามเรื่องและความเป็นมา และมักจะลงท้ายถามว่าแล้ว มาหาผมได้อย่างไร คำตอบคือ search หา จาก Google


ประเด็นคือ ทำไมถึงไม่ search เสียแต่แรก
คำตอบคือเพราะความคิดในตอนแรกกับตอนหลังไม่เหมือนกัน
ตอนแรกนั้น เป็นการบริโภคความงามคิดว่า ที่ไหนก็ได้ ยิ่งได้ยินได้เห็นโฆษณา มาก็ติดหูติดตาจนง่ายต่อการตัดสินใจ และก็เห็นว่าใครๆก็ตัดสินใจกันแบบนั้น แต่ตอนหลังนี่เป็นเรื่องแล้ว ต้องค้นหาคนที่ช่วยได้จริง คนที่ดี ก็ยังโชคดีที่สมัยนี้ฝรั่งเขาทำ search engine มาให้ ไม่เช่นนั้นป่านนี้ก็คงไม่ได้เจอกันและก็คงหาที่แก้ไขปัญหาไม่ได้


          ทำไมคนไทยถึงไม่สามารถคิดเรื่อง search engine ขึ้นมาละ หรือ พัฒนาระบบ social network ต่างๆเหมือน facebook แต่กลับมีแต่ป้ายโฆษณา กันเต็มบ้านเต็มเมือง ครั้งหนึ่ง พระราชินีอลิซาเบททรงมาเมืองไทยแล้วตรัส ว่าบ้านเมืองของไทยมีป้ายโฆษณาเยอะจัง (ไม่รู้ท่านหมายความในเชิงบวกหรือลบก็ไม่ทราบได้)


         เมื่อความแตกต่างเป็นเช่นนี้ ก็เลยไม่แปลกใจที่เราจะเห็นใบหน้านักการเมือง อยู่บนป้ายขนาดใหญ่เต็มไปหมด แต่หากจะลองหาผลงานใน web แล้วก็จะไม่ได้เนื้อความอะไรเลย หนังสือพิมพ์ไทยกับฝรั่งก็ต่างกัน คือ เนื้อที่โฆษณา กับเนื้อหาสาระไม่ได้สัดส่วนกัน ไทย โฆษณามากไม่มีเนื้อหา ของฝรั่งมีเนื้อหามากมีโฆษณานิดเดียว
อยากให้มาแข่งกันเรื่องเนื้อหาสาระ และความรู้สักทีกองประกอบโรคศิลป์ อย. และแพทยสภาก็เข็มงวดเรื่องการโฆษณาอยู่เหมือนกัน แต่ดูจะไม่เข้าใจบทบาทและแยกไม่ออกระหว่างการให้ข้อมูลที่เป็นจริง (มีประโยชน์ มีสาระที่สามารถนำไปค้นต่อได้ จนที่สุดทราบความจริงเพราะถือว่าเป็นกลาง) กับการให้ข้อมูลคลุมเครือและหลอกลวง เช่นไม่ให้แจ้งเรื่อง ชื่อเครื่องมือที่ใช้ที่เป็นสาระ search หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ แต่กลับให้ใช้คำอะไรก็ไม่รู้ที่ไม่มีในสาระบบตรวจสอบไม่ได้ ผมว่าคนกำกับเองน่าจะสำรวจความเข้าใจและวัตถุประสงค์ของกฎและ เป้าหมายของการควบคุมให้ดี คนที่เสียประโยชน์จริงๆและได้รับโทษนั้นคือประชาชน


          หวังว่าเด็กๆเยาวชนจะ search เป็น อ่านเป็น ฟังเป็น คิดเป็น  ที่ผ่านมาไม่ใช่ความผิดของพวกเราเลยแต่เป็นเพราะ ผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบนั้น จะจงใจหรือไม่ก็ตาม เน้นให้เรา ติดโฆษณาชวนเชื่อ ติดโลโก้ ติดสี ( แก้น้ำมันปาล์มก็ให้ดูที่จุกสีชมพู อะไรทำนองนั้น ป้ายนโยบายก็ต้องสีฟ้า และใช้ตัวเลข 25 ให้ติดหูติดตาง่าย)เมื่อไหร่ เราเลิกติดเรื่องพวกนี้ ทุกอย่างก็จะดีขึ้น แต่ก็จะไม่พอหากเราไม่สามารถติดการใช้ความคิดวิเคราะห์ ที่ว่าเป็นที่หนึ่งอะไรทั้งหลายนั้น ใช่จริงหรือ หรือเป็นเพียงการโฆษณา หรือมีมุมอะไรที่น่าจะไม่ใช่ลองคิดดูที หรือก็ยังคิดไม่ออกอยู่ดี ก็ได้แต่เหลียวหาป้ายชี้ทางอีกแล้วหรือ ป้ายบอกทาง จะต้องมีเพิ่มอีกเท่าไร จะต้องให้ใหญ่ อีกเท่าไร จะให้สูงและเด่นอีกขนาดไหน

<< บทความทั้งหมด

ดุลแห่งชีวิตเพื่อผิวพรรณและเส้นผม
ผม มงกุฎแห่งความสง่างาม
คุยกับ นพ สมนึก อมรสิริพาณิชย์ เรื่อง ฝีใต้รักแร้
คุยกับ นพ.สมนึก อมรสิริพาณิชย์ เรื่อง เหงื่อชุมมือ และ รักแร้
คุยกับ นพ.สมนึก อมรสิริพาณิชย์ เรื่อง ทำไมสิวถึงเกิดซ้ำที่เดิม
คุยกับ นพ.สมนึก อมรสิริพาณิชย์ เรื่อง หูดบนหนังศรีษะ
3 คุยกับ นพ.สมนึก อมรสิริพาณิชย์ เรื่องเล็บพังรักษาได้
คุยกับ นพ.สมนึก อมรสิริพาณิชย์ เรื่องฉีดวันซีน Covid-19 ให้ปลอดภัย
  บริการ
ผลิตภัณฑ์
ตารางแพทย์
ความรู้/บทความทางการแพทย
ติดต่อนีตนาท
© 2019 Netanart Clinic