Call Center 086 883 0777
Email: contact@netanart.com

 

<< บทความทั้งหมด

ประวัติศาสตร์การรักษาสิว และการติดสเตียรอยด์ในคนเป็นสิว ( คศ 1907- 2013)

     การค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ เท่าที่ผมจะทำได้ พบว่า สามารถย้อนไปได้ถึง ปี 1907
ในปี 1907 มีความนิยมในการรักษาสิว โดยใช้ X ray ( การใช้ Xray เพื่อวินิฉัยโรคนั้นเริ่มเมื่อ ปี คศ 1895 และเริ่มที่จะใช้ในการรักษาโรคผิวหนังในปี 1903) ดังรายงาน ของ Bering RE มีความสนใจที่จะใช้ สารสกัดที่มีส่วนผสมฮอร์โมนเพศหญิงเพื่อรักษาสิว
 
- ประมาณก่อน ปี 1938 ดังมีรายงานของ Tempton HJ อย่างไรก็ดีเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ Xray ผลยังเทียบไม่ได้
 
- พอปี 1947 ได้มีความพยายามจะใช้ Vitamin A เพื่อจะรักษาสิว  
 
- ในปี1948 นอกจากมีการทดลองการใช้แสงในการรักษาสะเก็ดเงิน ก็มีการลองใช้ กับการรักษาสิวเหมือนกัน
 
ในปี1950 Burgress JF ได้มีการทบทวน ว่าการรักษาในยุคนั้น ใช้อะไรกันบ้างก็พบว่า มีการใช้ Xray สารสกัดฮอร์โมนเพศหญิง Vitamin A และการควบคุมอาหารที่มีความมันและ อาหารจำพวก Nut และไม่น่าแปลกใจว่า มีการเจาะสิวแล้วในยุคนั้นน่าสนใจว่า ในปี1950 ได้เริ่มมีการทดลองใช้ ยาฆ่าเชื้อมาทาเพื่อรักษาสิวแล้ว ( Howell JB รายงานการใช้ aureomycin ointment เพื่อรักษาสิว )
 
แต่ที่ควรจำคือ ปี1951 ที่เริ่มมีการใช้ สเตียรอยด์ในการรักษาสิว ซึ่งก็เป็นปีเดียวกันที่มีการริเริ่มใช้สเตียรอยด์ในการรักษาโรคสะเก็ดเงินเหมือนกัน ( Kuhnau W 1951) 
 
1953 เครื่องมือกดสิวได้รับการพัฒนารูปแบบให้ดีขึ้นโดย Gillesberger W. 
 
ดังนั้นจะเห็นว่า การพัฒนาการรักษาสิว ถึงปี 1951 นี้ แบ่งเป็น 5 แนวทาง คือ 
     1. การใช้ antibiotics ตั้งแต่ปี 1950 , 1954 เริ่มใช้ 
Erythromycin ปี 1955 เริ่มใช้ sulfonamides ปี 1956 เริ่มใช้ tetracyclines
     2. การใช้ Vitamin A ( ตั้งแต่ปี 1947) ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นกรด Vitamin  A โดย Kligman AM ในปี 1969
     3. การใช้ Steroids ( ตั้งแต่ ปี 1951)
     4. การใช้ ฮอร์โมนเพศหญิง ( เริ่มเปลี่ยนเป็นยาทา ในปี 1951 โดย Philip AJ )
     5. การใช้ แสงรักษาสิว ( เริ่มใช้ 1948 )
 
     ส่วน Xray ที่ใช้รักษาสิวมานานกว่า 60 ปี ก็เริ่มมีรายงานว่า เป็นต้นเหตุของมะเร็งหลายแห่ง (Kuta A. 1963, Albright EC 1967) และเสื่อมความนิยมไปเอง
ในส่วนของการใช้สเตียรอยด์นั้นเป็นสาระของบทความนี้โดยตรง ( เรื่องอื่นๆ เช่น ประวัติการใช้วิธีกดสิว หรือ ความเชื่อเรื่อง Demodex ไม่ใช่ประเด็นหลักในบทความนี้ จะเขียนในภายหลัง) เมื่อเริ่มมีการใช้สเตียรอยด์เพื่อรักษาสิว ปรากฎว่าไม่ได้เป็นที่นิยมนานถึง 20 ปี เหมือนเรื่องสะเก็ดเงินที่ผมได้เขียนบทความให้อ่านมาแล้ว ภายในเพียง 5 ปี คือ 1956 ก็เริ่มมีรายงานว่าการใช้ สเตียรอยด์รักษาสิวนั้นกลับทำให้เกิด สิวเทียม ( Turtz CA. 1956) แต่การรักษาด้วยฮอร์โมนก็มีปัญหาเหมือนกัน ( Godfrey S. 1969) จึงเป็นโอกาสให้ Kligman มีชื่อเสียงในฐานะเป็นผู้ริเริ่มการใช้ กรด Vitamin A ( retinoic acid) ในการรักษาสิว
 
ในปี 1969  Kligman เป็นคนเก่ง นอกจากแนะนำเรื่อง กรด วิตามิน เอ แล้วยัง ช่วย ประโคมความจริงเรื่องผลข้างเคียงของสเตียรอยด์ ทำให้มีคนอื่นๆ ทำวิจัยและยืนยันผลข้างเคียงของสเตียรอยด์ เช่น Baer RL ในปี 1970 และ Plewig G. 1973 จนกระทั่ง ปี 1979 Kligman ออกมาเตือนว่า การใช้สเตียรอยด์ ทำให้เกิดการเสพติดได้ แต่แปลกที่เขากลับแนะนำให้ใช้ สเตียรอยด์ + กรดวิตามิน เอ ในการรักษาฝ้า ที่เราเรียกว่า Triple regimens
 
ในปี 1975 อาจจะเป็นเพราะว่า เขาได้สิทธิบัตรเรื่อง กรดวิตามิน เอ และเห็นว่าอย่างไรเสียก็ต้องใช้สเตียรอยด์แต่เลี่ยงไปใช้ในกลุ่มที่เป็นสิวได้ยากกว่าคือ กลุ่มที่เป็นฝ้า ซึ่ง ความจริงก็คือความจริง ทำให้แม้ปัจจุบัน 2010 ก็มีรายงานว่า Triple regimen ของ Kligman ทำร้ายผู้คนเกิดผลเสียอย่างมากมายเพราะ สารสเตียรอยด์ที่เขาเองก็รู้ว่าไม่ดี ( Majid I)  Kligman ได้อ้างว่า การใช้กรด วิตามิน เอ ร่วมกับ สเตียรอยด์ สามารถยับยั้งผลเสียของ สเตียรอยด์ ได้เพื่อหลอกตัวเองและชาวโลกอยู่นาน ( Kligman AM 1989) แต่ไม่เป็นความจริง และถูกค้านโดย Schmied C ( 1991) Voohes JJ (1996)  ดังนั้นหากใครจะอ้างว่า สูตรยาที่ผสมกรด วิตามินเอ สามารถยับยั้งการเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ สเตียรอยด์ นั้น ไม่สามารถอ้างได้ Kligman เอง จึงสูญเสียภาพลักษณ์ความเป็นนักวิชาการอย่างน่าเสียดาย และดูจะกลายเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัวเหมือนคนทั่วๆไป
 
ในปี 1965 เริ่มมีการแนะนำให้ใช้ Benzoyl peroxide (Pace WE) และหลักการใช้ Antiseptic เพื่อช่วยล้างหน้าก็แจ้งเกิดใน ปี1966 ( Hopponen RE) ช่วยสร้างรายได้ ให้กับ over the counter acne aidsแต่ทั้งกรด วิตามิน เอ และ Benzoyle peroxide ต่างทำให้ผิวหน้าแห้งและเกิดการระคายเคือง จึงเป็นสาเหตุที่ต้องมีการผสม สเตียรอยด์ ในสูตรการรักษาสิว และ ทำให้เกิดการติดยาอย่างที่ ได้กล่าวข้างต้น และเป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย ในยุคตั้งแต่ ปีพศ  2522 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน มากกว่า 35 ปี 
 
การรักษาสิวหากไม่คำนึงถึงการป้องกัน อย่างไรเสียก็ต้องเป็นๆหายๆและเสี่ยงต่อ การเป็นเหยื่อของการติดสเตียรอยด์ ปัจจุบัน ประเทศไทยเรา ไม่มีหน่วยงานที่เข็มแข็ง ออกมาให้ความรู้และรับผิดชอบ จึงมีการติดสเตียรอยด์ มากมาย เหมือนใน อเมริกา ในยุค คศ 1951-1979
 
การป้องกันการเกิดสิวได้ถูกนำเสนอ ตั้งแต่ปี1962 โดย Kullberg RW และ Sieler H. ในปี 1965 แม้กระทั่ง มีผู้นำเสนอว่า สิวนั้นอาจจจะเกิดจาก แพทย์เองที่ทำให้เกิด เรียกว่า Iatrogenic acne ( Dutta AK 1964) เพื่อป้องกันการเกิดสิว มีรายงานว่า การกิน Chocolate ทำให้เกิดสิวได้ ( Grant JD 1965) หรือ แม้กระทั่งการดื่ม Beer ( Amann W 1965)  และการกินวิตามิน B12 (Goldblatt S 1966) นอกจากการกินแล้ว ผิวหนังยังสามารถแสดงอาการของโรคหลายชนิด รวมทั้งสิว หากเกิดการดึงรั้ง ( Mihan R 1968) ซึ่งเกี่ยวโยงถึงทฤษฎีการล้างหน้าตามแนวขนเพื่อลดการเสียดทาน ที่ ผมได้แนะนำ ใน ศตวรรษนี้ การศึกษาว่า comedones เกิดขึ้นได้อย่างไร (Puccinelli VA 1965 and Bensel A 1976 ) เป็นความพยายามในเชิงการหาทางป้องกันที่น่ายกย่อง ผมคิดว่า ผมเห็นความสำคัญของเส้นขนในการทำให้เกิด comedone คนแรกและให้ความสำคัญ กับการลดการเสียดสีของขนในโพรงขนด้วยการล้างหน้าตามแนวขน แต่กลับพบว่า Leyden JJ 1972 ได้รายงานก่อนหน้าแล้วว่า เขาเห็นว่าใน comedone มีขนสะสมอยู่ด้วย ส่วนคำตอบที่ว่าทำไมสิวถึงดูรุนแรงขึ้นช่วงมีประจำเดือน ก็ได้รับคำตอบจาก Kligman ในปี 1991 ว่า การหลั่งน้ำมันจากต่อมนั้นเป็น Rhythm และมากขึ้นในช่วงมีประจำเดือน 
 
จากการสำรวจตัวอย่างผู้ป่วยที่มารักษาที่นีตนาทคลินิกกว่า 1000 รายพบว่า แพทย์รักษาสิวในประเทศไทยส่วนหนึ่ง มีความคิดดังนี้ 
     1. ปฏิเสธทุกอย่างว่า ไม่มีอะไรเลยที่สามารถป้องกันได้เอง สิวเป็นเรื่องของฮอร์โมน และพันธุกรรม
     2. ต้องรักษาไปตามอาการ เป็นๆหายๆอ้างว่า ไม่ได้เลี้ยงไข้ และไม่มีคำแนะนำให้ปฏิบัติตัวอย่างไร
     3. หากมีอาการระคายเคืองจากยารักษาสิว ก็จะให้ยาสเตียอรดย์ระยะสั้นๆ ซึ่งไม่ได้ควบคุมปริมาณและการใช้อย่างจริงจังเป็นระบบ รวมๆแล้วเป็นต้นเหตุทำให้เกิดการติดสเตียรอยด์
     4. ชอบกดสิวมากๆ
 
เมื่อเป็นเช่นนี้ พอจะเดาได้ว่า คนไทยจะมีใบหน้าที่เสียหายจากการติดสเตียรอยด์ไปอีกนาน รวมทั้งมีแผลเป็นจากการกดสิวซ้ำเติมอีกชั้นหนึ่ง 
 
 

<< บทความทั้งหมด

ดุลแห่งชีวิตเพื่อผิวพรรณและเส้นผม
ผม มงกุฎแห่งความสง่างาม
คุยกับ นพ สมนึก อมรสิริพาณิชย์ เรื่อง ฝีใต้รักแร้
คุยกับ นพ.สมนึก อมรสิริพาณิชย์ เรื่อง เหงื่อชุมมือ และ รักแร้
คุยกับ นพ.สมนึก อมรสิริพาณิชย์ เรื่อง ทำไมสิวถึงเกิดซ้ำที่เดิม
คุยกับ นพ.สมนึก อมรสิริพาณิชย์ เรื่อง หูดบนหนังศรีษะ
3 คุยกับ นพ.สมนึก อมรสิริพาณิชย์ เรื่องเล็บพังรักษาได้
คุยกับ นพ.สมนึก อมรสิริพาณิชย์ เรื่องฉีดวันซีน Covid-19 ให้ปลอดภัย
  บริการ
ผลิตภัณฑ์
ตารางแพทย์
ความรู้/บทความทางการแพทย
ติดต่อนีตนาท
© 2019 Netanart Clinic