Call Center 086 883 0777
Email: contact@netanart.com

 

<< บทความทั้งหมด

ความยุติธรรมกับการจ่ายเงินค่ารักษาเป็นคอร์สสำหรับ Fraxel

      หากเรายอมรับกันว่า มนุษย์ทุกเพศทุกวัย ย่อมรู้จักการเรียกร้องขอความเป็นธรรมที่ยุติได้ที่เราเรียกว่า ความยุติธรรม ซึ่งถ้าเป็นเรื่องทางแพ่งก็ฟ้องร้องกันที่ศาลแพ่ง หากเป็นเรื่องอาญาก็ต้องเรียกร้องกันที่ศาลอาญาซึ่งทั้งสองเรื่องเป็นเรื่องของศาลยุติธรรม

      มีอีกเรื่องคือเรื่อง ศาลปกครอง ซึ่งประเทศของเราเพิ่งจะมีพรบ. จัดตั้งศาลปกครองกันเมื่อ พศ. 2542 ขึ้นมาเพื่อดูแลปัญหาเรื่อง ที่รัฐ โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเอกชนที่ได้ เอกสิทธิ์จากรัฐ ออกคำสั่งหรือทำสัญญากับเอกชนในการให้การบริการสาธารณะ จะได้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนชาวไทย

     แล้วมาเกี่ยวอะไรกับการรักษาความงามที่ต้องจ่ายเงินเป็นคอร์ส ก็เพราะการดูแลผู้ป่วยโดยแพทย์นั้น ความจริงไม่ใช่การบริโภคแต่เป็นการให้การบริการแก่ประชาชน โดยแพทย์ที่ได้รับอนุญาตให้กระทำและใช้เครื่องมือแพทย์ที่ผ่านการรับรองและอนุญาตภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายปกครอง ดังนั้น การรักษาเรื่องความสวยงาม เป็นคอร์สจึงเป็นปัญหาที่ไม่ใช่เอกชนกระทำกับเอกชน แต่น่าจะเป็นเรื่องการบริการสาธารณะ การทำสัญญาจึงไม่ใช่คิดจะทำอย่างไรก็ได้ อย่าง สัญญาทางเอกชน แต่ดูเหมือนจะไม่มีใครสนใจว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องหรือไม่ สส. คนใดจะเอาความเห็นในบทความนี้ไปพิจารณาแล้วนำมาใช้ก็เชิญครับ

     การรักษา Fraxel เป็นคอร์ส นั้น มุ่งสร้างความเชื่อแก่ผู้มารักษาว่า จะต้องทำมากกว่า 1 ครั้งจึงจะได้ผล แล้วตั้งราคาสูงๆ เพื่อจะได้ลดราคาลงมาเป็นการจูงใจ และทำให้หลงเชื่อว่าได้รับการดูแลถูกกว่า

     ปัญหาในการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่ยุติธรรมในการคุ้มครองประชาชน (ไม่ใช่ผู้บริโภคดังที่เข้าใจ)ในความจริงเกี่ยวกับการขายการรักษาเป็นคอร์สมีอะไรบ้าง

1.    เป็นการสร้างข้อแม้โดยสุจริตหรือไม่ คำตอบคือไม่สุจริต เพราะการรักษาด้วยเครื่อง Fraxel ที่มีราคาสูงนั้นต้องทำให้ได้ผลมากที่สุดภายในครั้งแรก ไม่มีเหตุผลที่จะต้องชักจูงให้เหมาการรักษาทั้งๆที่ผู้มารักษายังไม่ได้เห็นผลการรักษาว่าในแต่ละครั้งจะได้ผลเท่าใด และผลการรักษาแต่ละครั้งมีการสะสมและต้องประเมินการตอบสนองของแต่ละคน หลักวิชาในการใช้ Fraxel ที่มีการอ้างการรักษาหลายครั้งนั้นเพียงเพราะ มีรายงานว่าจะมีการสะสมในความพึงพอใจของผลการรักษาที่มากขึ้นถ้ามีการรักษาซ้ำเท่านั้น ซึ่งผลงานวิจัยนั้นกระทำในอาสาสมัครไม่ต้องเสียงเงินตนเอง ไม่ใช่การขายคอร์ส

2.    หากมีการเก็บเงินเป็นคอร์ส และผู้ป่วยไม่พึงพอใจที่จะทำต่อ การอุทธรณ์ขอเงินในส่วนที่จ่ายให้ไปก่อนและไม่ประสงค์จะทำต่อ ทำได้หรือไม่ หากทำได้ต้องบอกกล่าวกันก่อน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นทำไมไม่คิดค่าใช้จ่ายเป็นครั้งแล้วค่อยว่ากันทีหลังเพราะก็ไม่แตกต่างกัน

3.    เป็นการสร้างข้อแม้ที่ไม่มีเหตุผล เพราะการรักษาผิวหน้าด้วย Fraxel สามารถได้ผลและเพียงพอในครั้งเดียวได้ ในกรณีที่พึงพอใจแล้ว เงินที่จ่ายไปแล้วสามารถเอาคืนเหมือนข้อ 2 ได้หรือไม่

4.    แพทย์ที่ประเมินผลการรักษาและทำการรักษาแต่ละครั้งสามารถกำหนดว่าทำโดยแพทย์คนเดียวตลอดได้หรือไม่ เพราะหากเปลี่ยนแพทย์ในแต่ละครั้ง การประเมินการรักษาก็จะทำไม่ได้ และหากผิดพลาดใครคือผู้รับผิดชอบที่แท้จริง การเปลี่นแพทย์ได้นั้นได้บอกกล่าวผู้มารับการรักษาก่อนหรือไม่

5.    หากสามารถกำหนดให้แพทย์ท่านเดียวทำจนจบคอร์สได้ ซึ่งบังเอิญ แพทย์ท่านนั้นไม่สามารถทำให้ได้ผลดีและประทับใจในครั้งแรก เช่นไม่ได้ผลเลย หรือเกิดผลข้างเคียง จะทำการเปลี่ยนแพทย์และเปลี่ยนสถานที่บริการได้อย่างไร และค่าบริการจะโอนถ่ายกันอย่างไร

6.    หากเป็นเหตุการณ์ในข้อ 5 และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ การให้รักษาต่อก็ผิดหลักเหตุผลของความยุติธรรมเพราะจะให้แพทย์ท่านนั้นซึ่งไม่สามารถให้ความเชื่อมั่นรักษาต่อจะถูกต้องได้อย่างไร

7.    หากมีเหตุที่ต้องแก้ผลข้างเคียงหรือมีเหตุที่ต้องเตรียมผิวหน้าใหม่เพื่อการรักษา Fraxel ครั้งต่อๆไป ผู้มาขอการรักษาต้องถูกบังคับให้จ่ายเงินเพิ่มต่างๆนาๆ ด้วยความยุติธรรมหรือไม่ เพราะไม่มีการตกลงมาก่อนเป็นการมีอำนาจเหนือผู้มารักษาที่ได้จ่ายเงินไปแล้วหรือไม่ หรือหากมีการพลัดผ่อนเลื่อนการรักษาออกไปจนยาวนานเกินความคาดหมายจะแก้ไขอย่างไร

8.    ถ้ามีการกำหนดคอร์สการรักษาเป็นจำนวนครั้งและจำนวนพลังงานทั้งหมด เมื่อสิ้นสุดการรักษาแพทย์จะอ้างว่าท่านได้ตกลงในจำนวนครั้งและจำนวนพลังงานเท่านั้น ไม่ใช่ความพอใจของผลการรักษาได้ใช่หรือไม่  ซึ่งเป็นหลักกฎหมายปิดปากหรือที่เรียกว่า Estoppel (หลักอาศัยมูลเหตุอันเป็นข้ออ้างยกเว้นความรับผิด) ผู้มาขอการรักษาทราบหรือเปล่าว่าจะโดนไม้นี้

9.    การกำหนดส่วนลดและชักจูงว่าจะประหยัดเงิน ทั้งๆที่การให้การรักษา ประเด็นสำคัญอยู่ที่ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการรักษา เป็นการเปลี่ยนจุดมุ่งหมายของการให้บริการ หากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้กฎหมายปกครองในกรณีนี้ก็ถูกฟ้องในศาลปกครองได้

     ประเด็นเหล่านี้ ความจริงมีเพิ่มอีกมาก แต่ตัวเลข 9 นั้นเป็นมงคลจึงคิดว่าเท่านี้ก็เพียงพอแล้ว หากใครอ่านแล้วไม่เข้าใจ ลองสั่งพิมพ์ออกมาแล้ว นำมาคุยกับผมที่คลินิกก็ได้ หรือจะลองปรึกษา ผู้รู้ที่เข้าใจเรื่องการบริการสาธารณะตามหลักกฎหมายมหาชน และกฎหมายปกครองก็อาจจะกระจ่างขึ้น

     ผมเขียนบทความนี้ทำไมหรือครับ ก็แค่ทบทวนความรู้เรื่องความยุติธรรมว่าด้วยเรื่องหลักต่างๆ และอยากให้เพื่อนแพทย์อย่าหลงประเด็นแข่งขันกันทำเงินโดยลืมหลักการให้บริการทางการแพทย์ที่ถือเป็นการบริการทางสาธารณะอย่างหนึ่ง จึงต้องมีคณะกรรมการ ( กรรมการแพทยสภา) มาควบคุมดูแลไง ส่วนผู้มารับบริการการก็จะได้รับประโยชน์ในการตัดสินใจ ไปรับการรักษาเป็นครั้งๆกับแพทย์ที่คำนึงเรื่องความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการรักษาดีกว่าครับ หากแพทย์เขาเห็นว่ารักษาคุณไม่ยากเพราะคุณมีสัมมาทิฐิ เดี๋ยวคุณหมอก็คิดราคาพิเศษให้เองครับ

ปล. ส่วนเรื่องอื่นที่ต้องทำเป็นคอร์สจริงๆ เช่นการถอนขนถาวร เพราะจะทำให้ประชาชนได้ประโยชน์จริงเพราะมีข้อกำหนดตามหลักวิชาจริงๆ เช่นขนแต่ละกลุ่มจะไม่ตอบสนองในการรักษาในครั้งเดียวกัน เช่นนี้ก็ไม่มีปัญหาอะไร อย่าเอามาปนกันเดี๋ยวจะงง

 
 

<< บทความทั้งหมด

ดุลแห่งชีวิตเพื่อผิวพรรณและเส้นผม
ผม มงกุฎแห่งความสง่างาม
คุยกับ นพ สมนึก อมรสิริพาณิชย์ เรื่อง ฝีใต้รักแร้
คุยกับ นพ.สมนึก อมรสิริพาณิชย์ เรื่อง เหงื่อชุมมือ และ รักแร้
คุยกับ นพ.สมนึก อมรสิริพาณิชย์ เรื่อง ทำไมสิวถึงเกิดซ้ำที่เดิม
คุยกับ นพ.สมนึก อมรสิริพาณิชย์ เรื่อง หูดบนหนังศรีษะ
3 คุยกับ นพ.สมนึก อมรสิริพาณิชย์ เรื่องเล็บพังรักษาได้
คุยกับ นพ.สมนึก อมรสิริพาณิชย์ เรื่องฉีดวันซีน Covid-19 ให้ปลอดภัย
  บริการ
ผลิตภัณฑ์
ตารางแพทย์
ความรู้/บทความทางการแพทย
ติดต่อนีตนาท
© 2019 Netanart Clinic